ว่ากันเรื่องไวไฟ หรือ คนที่ อยาก ติด ไวไฟ ที่ บ้าน ที่นิยมใช้กันภายในบ้านเรา (ประเทศไทย) กันตอนนี้ ที่นิยมใช้กันหลักๆ เราสามารถแบ่งได้ โดยใช้คลื่นความถี่ เป็นตัวแบ่ง คือ ไวไฟ คลื่นความถี่ 2.4GHz และ 5GHz
ซึ่งที่มีใช้งานมากที่สุด และ อุปกรณ์จะสนับสนุนมากที่สุด คือคลื่น ความถี่ 2.4GHz …ทำไมจึงเป็นแบบนั้น? … เพราะไวไฟที่ใช้คลื่นความถี่ 2.4GHz นั้นเป็นไวไฟ ยุคแรกๆ ที่โลกเราได้มีไวไฟใช้งานกัน ไล่ตั้งแต่ มาตราฐาน b , g และ n ปัจจุบัน เราจะมาจบที่ มาตราฐาน n .. และ มาตราฐานนี้ ก็จะยังคงใช้งานกันไปอีกยาวๆ ซึ่งข้อดีของมันคือ ส่งไปได้ไกล แต่ไม่เร็ว เมื่อเทียบกับ 5Ghz ซึ่งอุปกรณ์ที่รองรับไวไฟมาตราฐานนี้ของทางร้าน เช่น Pixlink รุ่น WR09 หรือ Comfast รุ่น N300 ซึ่งอุปกรณ์ที่พบกันมาก ไม่ว่า จะผ่านมาหลายปีแล้วก็ตาม ทางโรงงานผู้ผลิตก็ยังไม่คิดจะเปลี่ยนเป็นไวไฟ ที่มีมาตราฐานที่สูงขึ้น เช่น กล้องวงจรปิด ชนิดไวไฟ หรือ กล่องแอนดรอยสื หรือ สมาร์ททีวี ในระดับราคาเริ่มต้น หรือ แม้กระทั่ง พวกอุปกรณ์ IOT ต่างๆ … อุปกรณ์ประเภทนี้ มันไม่จำเป็นต้องใช้ปริมาณเน็ตที่สูงมากนัก ทางผู้ผลิตเค้าก็ไม่ใส่ WiFi ที่มีมาตราฐานสูงๆ มาให้เพิ่มต้นทุนโดยไม่จำเป็น
ต่อไปคือ ไวไฟ ที่ใช้คลื่นความถี่ 5Hhz … เจ้า wifi ที่ใช้คลื่นความถี่นี้ มันจะมีมาตราฐาน AC และ AX มาวิ่งอยู่บน ความถี่นี้ ซึ่งความเร็วที่ ทำได้เมื่อเราใช้งานในความถี่นี้คือ ตั้งแต่ 1xx Mbps ไปจนถึง 1,xxxMbps กันเลยทีเดียว คือ มันเร็วมากๆ มากจนบางครั้ง มันเร็วกว่าสายแลยเสียอีก แต่ เจ้าคลื่นความถี่ 5GHz นั้น มันก็มีข้อด้อย คือในเรื่องของระยะทางในการครอบคลุมสัญญาณ คือ มันจะมีพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณได้น้อยกว่า คลื่น 2.4GHz ข้อสังเกตุที่เห็นได้ชัด คือ ถ้าเรามีเร้าเตอร์ ที่สามารถปล่อยคลื่นไวไฟได้ 2 คลื่นพร้อมๆกัน เราจะเห็นได้ชัดเลยว่า คลื่นความถี่ 2.4GHz จะเดินทางไปได้ไกลกว่า อย่างชัดเจน
ซึ่งเมื่อก่อน เราตะเรียกชื่อไวไฟ ตามมาตราฐาน ที่มีการตั้งชื่อจากหน่วยงานที่ชื่อ IEEE เช่น a / b / g / n ซึ่งมันค่อนข้างจะสับสน ในการจำ และ เรียกชื่อของผู้คนทั่วไป … เมื่อไม่นานนี้ เค้าจึงมีการตั้งชื่อใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ คือ
ปีที่กำเนิด (และปีที่ปรับปรุง) | ชื่อเดิม | ชื่อเรียกใหม่ | คลื่นไวไฟ |
---|---|---|---|
1997 | 802.11b | 2.4GHz | |
1999 | 802.11b | 2.4GHz | |
2003 | 802.11a | 2.4GHz | |
2009 | 802.11n | 2.4 และ 5GHz | |
2014 | 802.11ac | (Wi-Fi 5) | 5GHz |
2019 | 802.11ax | (Wi-Fi 6) | 5GHz |
802.11ax | (Wi-Fi 6E) | 5GHz | |
ในอนาคต | 802.11be | (Wi-Fi 7) ? | ??? |
ซึ่งเมื่อมาถึงตอนนี้ หากผู้อ่านที่ อยาก ติด ไวไฟ ที่ บ้าน ก็สามารถเลือกได้ไม่ยากแล้วนะครับ ว่า ปัจจุบันนี้ มาตราฐานไวไฟ หลักๆ ที่เป็นพื้นฐาน ก็ควรมีอย่างน้อยคือ มาตราฐาน n สำหรับการใช้งานกับอุปกรณ์ ทั่วๆไป …. และ กระโดดไปมาตราฐาน AC (หรือ Wi-Fi 5) เป็นอย่างน้อยสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการเน็ตแรงๆ
แต่สุดท้าย ในปัจจุบัน ในตลาดที่มีการแข่งขัน ของผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ตของเมืองไทย ซึ่ง ถือว่าเป็นประเทศ ที่มีอินเตอร์เน็ตบ้านใช้งาน ด้วยความเร็วที่สูงเป็นอันดับต้นๆของโลก (ล่าสุด กลางปี 2021 ไทยอยู่อันดับ 7 ของโลก ในประเภท เน็ตบ้าน) … ผู้ให้บริการเน็ตแต่ละค่าย เค้าจะติดตั้งพร้อมกับ WiFi Router ที่มีคลื่นไวไฟ มาตราฐาน n และ ac เป็นพื้นฐานมาให้เราใช้งานกันอยู่แล้ว เราจึงไม่ต้องกังวลอะไรมากมาย ว่าเราจะใช้งานไวไฟในมาตราฐานใด เพราะ เค้าให้มา ครบๆ เหลือๆ สำหรับความเร็ว สูงสุดในปัจจุบันแล้ว ที่จะมีปัญหา ก็จะเป็นฝั่งอุปกรณ์ปลายทาง เพราะ มันไม่สามารถที่จะทำความเร็วได้สูงสุด ของแพคเก็ตเน็ตนั้นๆได้ (ยกเว้นว่าเราจะใช้สายแลนแทน)