การขยายสัญญาณไวไฟ มันมีกี่แบบ

บทความนี้ ขอเขียนแบบไม่เน้นเทคนิคมากมายอะไรนะครับ ผมจะพยายามเขียน ให้ทุกๆคนที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านไอที เข้าใจได้ง่ายที่สุด

โดยปกติ หากเราพูดถึงการขยายไวไฟ เราทุกคน จะยังไม่คิดถึงการขยายสัญญาณไวไฟกันหาก เรายังใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านไวไฟ กันได้ดี … จนกว่าเราจะพบปัญหา เช่น ออกเน็ตไม่ได้ หรือ สัญญาณไวไฟในมือถือเรา อ่อนนั่นหละ เราถึงจะมาคิดถงการขยายไวไฟกัน

เอาหละ สมมุติว่า บ้านเรา มี สองชั้น ชั้นบนมี 3 ห้องนอน ซึ่งเร้าเตอร์ จากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต เช่น 3bb tot ได้ถูกติดตั้งอยู่ด้านล่างชั้น 1 , คราวนี้ เราเจอปัญหาว่า เมื่อเรา ขึ้นไป ใช้งานไวไฟ ในห้องนอนชั้น 2 ไวไฟที่เห็นจากชั้น 1 มันอ่อน เล่นเน็ต ดูคลิป ดูยูทูป มันติดๆขัดๆ … ด้วยโจทย์ ด้วยปัญหาแบบนี้ เราจะทำอย่างไร ให้ให้นอนทุกห้องในชั้น 2 สามารถใช้งานไวไฟได้อย่างรวดเร็ว

ทางออกที่ 1 คือ การใช้ Access Point ซึ่งเป็นทางออกที่ ดีที่สุด มีปัญหาน้อยที่สุด มีความเสถียรมากที่สุด และ องค์กร หรือ สถานที่ที่มีไวไฟ ให้ใช้งานนิยมติดตั้งแบบนี้กันมากที่สุด คือ การเดินสายแลนจากเร้าเตอร์ ที่อยู่ชั้น 1 ขึ้นไปยัง ห้องนอนในห้องต่างๆ แล้ว ไปเสียบกับ ตัว Access Point (AP) เพื่อทำหน้าที่กระจายไวไฟ แยกไปแต่ละห้อง

การติดตั้ง Access Point

ข้อดี : มีความเสถียรมากที่สุด
ข้อเสีย : ติดตั้งยาก ต้องมีการเดินสายแลน

แต่หากท่านไม่สามารถที่จะเดินสายแลนได้ ท่านจำเป็นจะต้องเลือกวิธีการ ถัดไป ที่มีความมีความเสถียร น้อยลงมา ดั่งข้อถัดไป

ทางออกที่ 2 คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยี Mesh WiFi , คำว่า Mesh ความหมายตรงตัวของมัน แปลว่า ตาข่าย เมื่อเรามาใช้ในวงการ การสื่อสารด้วยไวไฟ มันก็หมายความว่า ตัวปล่อยไวไฟ แต่ละ ตัว มันจะสามารถสื่อสาร ระหว่างกันได้ โยงใยหากันเป็นตาข่าย , ซึ่งการสื่อสาร กันแบบนี้ มันจะช่วยลดปัญหา หลายๆ อย่างของการขยายสัญญาณไวไฟ ในแบบเดิม

การติดตั้ง Mesh WiFi

โดยการติดตั้ง Mesh WiFi นี้ อย่างน้อยมันจะต้อง มีอุปกรณ์ Mesh WiFi จำนวน 2 ตัว ตัวแรก เราจะเรียกมันว่า Primary ซึ่งเจ้าตัว ที่มำหน้าที่ Primary นี้ มันจะต้อง มีการเสียบสายแลน จากเร้าเตอร์ต้นทาง คือ จะวางไว้ในตำแหน่งใกล้ๆ เร้าเตอร์ชั้น 1 ก็ได้ หรือ จะลากสายไปเสียบไว้ บริเวณบันชั้นที่ 1 ก็ได้ ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะข้อกำหนด ที่ยาวที่สุด ของสายแลน คือ 100 เมตร
แล้ว Mesh WiFi ตัวที่ 2 เราจะเรียกว่า Secondary ซึ่งเราจะสามารถนำไปเสียบปลั๊ก ตามห้องต่างๆ ได้เลย เช่น ถ้าชั้นสอง มี สามห้อง เราอยากให้แต่ละห้องได้ ใช้งานไวไฟที่ดีที่สุด เราก็ใช้ Mesh WiFi ที่ทำหน้าที Secondary จำนวน 3 ตัวไปเสียบปลั๊กไฟ ตามห้องต่างๆ … หรือ หากจะประหยัดงบ ลงมา เราก็ใช้ Mesh WiFi ที่ทำหน้าที่ Secondary ไปเสียบไว้ห้องโถง หรือ ส่วนที่เป็นส่วนกลางของชั้น 2 เพื่อกระจายไวไฟ ไปยัง ห้องนอนต่างๆ ทั้ง สามห้อง ของชั้น 2 ก็ได้

ส่วนทางออกที่ 3 คือ การใช้ อุปกรณ์ที่เรียกว่า ไวไฟ Repeater ซึ่งวิธีการนี้ จะมีความเสถียรน้อยที่สุด ซึ่งการติดตั้ง เราแค่ไปเสียบปลั๊ก ในตำแหน่งที่อยู่ ตรงกลาง ระหว่าง ตัวปล่อยไวไฟ และ ตำแหน่งที่อุปกรณ์ปลายทาง เช่นเร้าเตอร์ที่เป็นตัวปล่อยไวไฟ ติดตั้งอยู่ ชั้นที่ 1 เราก็ควรจะไปติดตั้งตัว WiFI Repeater ที่ บริเวณ บันไดในชั้น 2 เพื่อ ที่ตัวมันจะได้ขยายสัญญาณจากชั้น 1 ขึ้นไปใช้ 2 ได้ ซึ่งการติดตั้ง WiFi Repeater ประเภทนี้ หากต้องการใช้งานได้อย่างมีความเสถียร มันจะมีเงื่อนไข ที่ค่อนข้างมากมาย เช่น ลดจำนวนอุปกรณ์ไวไฟ ที่ไปเกาะใช้งานจากเร้าเตอร์ต้นทางให้้น้อยที่สุด , รักษาระยะ การติดตั้งในจุด ที่อยู่จุดกึ่งกลางของสัญญาณไวไฟ ของทั้ง 2 ฝั่ง , ระยะห่างระหว่าง ตัวเกาะไวไฟของแต่ละตัว จะต้องอยู่ในระยะที่ไม่มีตัวใดตัวนึงที่ห่างกันมากนัก ฯลฯ

การติดตั้ง WiFi Repeater

สรุป ข้อดี : ติดตั้งง่าย มีการใช้งบประมาณน้อยที่สุด
ข้อเสีย: มีความเสถียรน้อยที่สุด ปัจจัยที่จะส่งผลต่อความเร็ว และ ความเสถียร มีเยอะมาก

คุยกับแอดมินร้าน