การเข้าไปหน้าตั้งค่าตัวขยายสัญญาณไวไฟ Pixlink รุ่น 2.4GHz ในโหมด WiFi Repeater (เชื่อมไวไฟจากเร้าเตอร์ต้นทาง)

ตัวขยายไวไฟตัวนี้ สามารถเลือกทำหน้าที่หลักๆได้ 2 อย่างคือ หนึ่ง เสียบสายแลนแล้วกระจายออกเป็นไวไฟ หรือ สอง รับไวไฟแล้ว กระจายออกเป็นไวไฟ และ สายแลน ดูดั่งรูปด้านล่าง

หน้าเวปนี้ จะไม่สอนการตั้งค่าแบบนี้
หน้าเวปนี้ จะสอนการตั้งค่าแบบนี้

ในเมื่อมันสามารถเลือกการทำงานได้ 2 แบบ … แล้วเราจะเลือกใช้งานแบบไหนดีหละ? คำถามนี้สำคัญมากนะครับ เพราะมันจะส่งผลถึงการใช้งานต่อไปในอนาคต ทุกด้าน เพราะแต่ละแบบก็มีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน ผู้เขียนจะเริ่มต้นที่ ความรู้พื้นฐานก่อนนะครับ ว่า การเชื่อมต่อด้วยสายแลน (Wireless AP Mode) ย่อมมีความเร็ว และ ความเสถียร ที่ดีกว่า การเชื่อมต่อด้วยไวไฟ (Wireless Repeater Mode)…. เพราะฉะนั้น ถ้าเราเลือกได้ ก็ให้เลือกพิจารณาการเชื่อมต่อแบบ Wireless AP Mode ก่อนเป็นอันแรก ซึ่งหากว่าท่านมีปัญหาเรื่องการเดินสายแลน เช่น เดินสายได้ยาก หรือ ไม่สามารถเจาะรู หรือ ไม่สามารถลากสายมาได้ จึงค่อยมาพิจารณาการเชื่อมต่อ ในแบบ Wireless Repeater Mode ต่อไป

สำหรับหน้าเวปนี้จะสอนให้ตั้งค่าในโหมด WiFi Repeater (เชื่อมไวไฟจากเร้าเตอร์ต้นทาง แล้ว กระจายต่อออกเป็นไวไฟ และ รูสายแลนที่เหลือก็สามารถเสียบเอาไปใช้งานได้ด้วย) เท่านั้น หากต้องการ ตั้งค่าแบบ เสียบสายแลน ให้คลิ๊กที่ลิ้งค์นี้

Wireless Repeater ModeWireless AP Mode
ค่าแรงในเดินสายแลนไม่มีมี
วัสดุอุปกรณ์ติดตั้งสายแลนไม่มีมี
ระยะทางในการเชื่อมต่อได้สูงสุดในที่โล่งประมาณ 60-70เมตร
แต่จะลดน้อยลงตาม กำแพง หรือ สิ่งกีดขวาง
ความยาวสายแลนได้สูงสุด 100เมตร
จะมีกำแพงหนากี่เมตร ก็เชื่อมต่อเล่นเน็ตได้ถ้าสายแลนไปถึง
ระยะเวลาติดตั้ง3-10 นาทีใช้เวลานาน
ความยาก-ง่ายในการตั้งค่าง่ายง่ายกว่า
ความเสถียรปานกลางดีมาก (เสถียรมาก)
ความเร็วสูงสุดในการเชื่อมต่อ
ที่อุปกรณ์ปลายทาง
ไวไฟ 40-50Mbps
สายแลน 70-95Mbps
ไวไฟ 80-95Mbps
สายแลน 85-95Mbps
ระยะเวลาในการตอบสนอง
ในกรณีเล่นเกมส์ออนไลน์
ช้ากว่า
(หากซีเรียส เรื่องเล่นเกมส์ แนะนำอย่าเชื่อมต่อในโหมดนี้)
เร็วกว่า

ต่อไปเราจะเรียกย่อ ๆว่า AP mode (เสียบสายแลนแล้วกระจายเป็นไวไฟ) และ Repeater Mode (รับไวไฟ แล้ว กระจายออกเป็นไวไฟ) นะครับ


และหลักเกณฑ์อีกอย่างนึงในการเลือกว่าเราจะใช้งานในแบบ Repeater Mode ได้หรือไม่นั้น เมื่อเราเอามือถือของเราไป ยืนในตำแหน่งปลายทาง เราพอจะมองเห็นไวไฟจากตัวส่งสัญญาณต้นทางได้สัก 1-2 ขีดบ้างหรือไม่? ถ้าใช่ โอกาสในการขยายสัญญาณแล้ว สามารถใช้งานได้อย่างมีความเสถียรก็จะมีสูง แต่ ถ้ามองไม่เห็นไวไฟเลย แบบนี้ก็ต้องเสี่ยง ต้องลุ้นเอาครับ
เรามาเริ่มการตั้งค่า กันเลยครับ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตั้งค่า ในครั้งนี้ เราจะใช้ สมาร์ทโฟน ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยส์นะครับ …. ส่วนถ้าท่านใช้ Apple หลักการก็ไม่ต่างกัน


1) เมื่อแกะออกมาจากกล่อง เราก็พยายามไปนั่งตั้งค่าให้ใกล้ๆ เจ้าตัวเร้าเตอร์ต้นทางให้ได้มากที่สุดนะครับ เพื่อที่เราจะได้ตัดปัญหา ตัวแปรต่างๆ ออกไปก่อน เราจะได้ โฟกัสไปกับการตั้งค่าอย่างเดียว ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องระยะทาง ซึ่งจะทำให้รับสัญญาณได้ไม่เต็มที่ พลอยจะทำให้การตั้งค่ายุ่งยากมากกว่าเดิม

2) ก่อนอื่นเพื่อความชัวร์ ให้เราทำการล้างค่าต่างๆที่อยู่ในตัวเครื่องขยายไวไฟตัวนี้ ให้กลับคืนค่าที่ออกมาจากโรงงาน โดยการเอาตัวขยายไวไฟตัวนี้เสียบเข้าปลั๊กไฟ …. รอสัก 15 วินาที เพื่อให้เครื่องมันบู๊ทตัวเองให้พร้อม หลังจากนั้น เราก็เอาไม้จิ้มฟัน หรือ อะไรก็ได้เล็กๆเรียวๆ เสียบเข้าไปในรู Reset เล็กๆ ที่อยู่ข้างๆ …. กดค้างไว้ 15วินาที แล้วปล่อย …. รออีกสัก 30 วินาที แล้วถอดปลั๊กและเสียบปลั๊กเข้าไปใหม่… เท่านี้ ก็เป็นอันเสร็จวิธีการ ล้างค่าให้กลับคืนสู่ค่าที่มาจากโรงงาน (หรือ เราเรียกว่า การทำ Reset Default Setting )

3) กลับมาที่มือถือเรา ให้เราไปยกเลิกการเชื่อมต่อ 3G 4G ออกไปก่อน, ถัดไปที่หน้าค้นหาไวไฟ ในมือถือ *ดูรูปประกอบ ในตัวอย่างนี้ ผู้เขียนต้องการจะขยายไวไฟต้นทางที่ชื่อว่า 3bb-wlan (ที่ล้อมกรอบด้วยสีแดง)…. และ เราจะต้องเห็นไวไฟที่ชื่อว่า PIX-LINK-2.4G (ที่ล้อมกรอบด้วยสีน้ำเงิน)…ซึ่งไวไฟที่ชื่อ PIX-LINK-2.4G นี้แหละที่มันปล่อยออกมาจากตัวขยายไวไฟตัวที่เพิ่งซื้อมาตัวนี้
ให้เราทำการกดเพื่อเชื่อมต่อ PIX-LINK-2.4G นี้ซะ

4) เมื่อเราเชื่อมต่อ PIX-LINK-2.4G แล้ว มันจะเชื่อมต่อไวไฟได้ทันที โดยที่ไม่มีถามรหัสไวไฟใดๆทั้งสิ้น เพราะมันยังไม่มีการตั้งรหัสนั่นเอง
…. ทีนี้ มือถือบางเครื่องมันอาจจะมีการฟ้องขึ้นมาว่า มือถือไม่สามารถออกอินเตอร์เน็ตได้ … ซึ่งไม่ต้องตกใจ เพราะตอนนี้ มือถือเรา มันก็ยังออกอินเตอร์เน็ตไม่ได้จริงๆ เราแค่เชื่อมต่อไวไฟจากตัวขยายไวไฟเท่านั้น

5) ต่อไปเราก็เปิด บร้าวเซอร์ ซึ่งในตัวอย่างนี้ ผู้เขียนจะใช้ Chrome เป็นเครื่องมือในการตั้งค่า หากท่านไม่มี ก็ให้ใช้บร้าวเซอร์อื่นๆทดแทนได้ เช่น Safari หรือ Firefox หรือ อื่นๆ ตามที่ท่านถนัด

6) เมื่อเปิดบร้าวเซอร์ขึ้นมาได้แล้ว ให้พิมพ์ไปในช่องที่อยู่ด้านบน เป็น 192.168.7.1 หรือ setup.pix-link.net ย้ำนะครับว่า ตรวจทานให้ถูกต้องทุกตัวอักษร แล้วกด GO (หรือ Enter)

7) ต่อไปมันจะขึ้นหน้าตาสีเขียวๆ หรือ สีอื่นๆ ตามแต่ละเวอร์ชั่น ดังรูปด้านข้าง ในช่องว่างด้านบนให้พิมพ์ admin เข้าไป (เป็นตัวอักษรเล็กทั้งหมด)

แล้วกด Login

8) ต่อไปมัน มันจะมี เมนูให้เลือก 4 เมนู ซึ่งเมนู ในที่นี้เราต้องการ ที่จะตั้งค่าในโหมด Repeater (เกาะไวไฟจากเร้าเตอร์ต้นทาง แล้ว กระจายออกเป็นไวไฟ) …. เราก็เลือก กดที่ไป Repeater

9) หากท่านใดไปใช้กับ เน็ตประชารัฐ หรือ ไวไฟฮอตสปอต สาธารณะ หรือ ไวไฟที่ต้องมีการลงทะเบียนใส่ชื่อผู้ใช้งาน และ รหัส ก่อนออกเน็ต ให้เลือก WISP แทนนะครับ … แต่ถ้าท่านไม่ได้ใช้งานแบบนี้ ก็ไม่ต้องเลือก WISP ให้เลือก Repeater แบบเดิม

11) มันจะขึ้น Scanning หมายความว่ามันกำลังค้นหาสัญญาณไวไฟที่อยู่รอบๆตัวมัน รอสักครู่, หลังจากนั้น ให้เรากด Select เลือกไวไฟต้นทางที่เราต้องการจะมาขยายสัญญาณ

ในตัวอย่าง ผู้เขียนต้องการจะขยายไวไฟในบ้านที่ชื่อ 3bb-wlan ผู้เขียนก็เลือกกด ปุ่ม Select หน้าชื่อไวไฟตัวนี้

12) เมื่อเรากด Select จากข้อที่ 11 แล้ว จะมีช่อง Enter Password โผล่ขึ้นมา ให้เรากรอกเข้าไป ซึ่งมันคือ รหัสไวไฟ จากเร้าเตอร์ต้นทาง การกรอกตรงนี้ สำคัญมาก ต้องใส่ถูก ไวไฟบ้านผู้เขียนตั้งรหัสไวไฟต้นทางคือ 1111100000 ผู้เขียนก็ต้องใส่ไปตามนั้น แต่บ้านลูกค้า มีรหัสไวไฟต้นทางเป็นอะไร ก็ต้องใส่ไปตามนั้น อย่าใส่รหัสตามคู่มือเด็ดขาด ไวไฟบ้านใครก็บ้านมัน รหัสไวไฟจะไม่เหมือนกัน ถ้าไม่รู้รหัสไวไฟบ้านตัวเอง ก็ต้องโทรหาช่างที่มาติดตั้งอินเตอร์เน็ตก่อน ถ้ายังไม่รู้รหัส อย่าเพิ่งทำขั้นตอนนี้ ถ้าผิดแม้แต่นิดเดียวจะทำให้ใช้งานไม่ได้…. เมื่อใส่แล้ว กดที่รูปลูกตา เพื่อตรวจสอบ หลังจากนั้น ก็กด Connect

13) รอให้ Completed 100% จากรูปตัวอย่าง มันจะมีการสร้าง ชื่อไวไฟขึ้นมาใหม่ ที่ชื่อ 3bb-wlan-EXT คือ มันจะเติมตัวอักษร -EXT ต่อท้าย …. ส่วนรหัสไวไฟ ก็เป็นรหัส ที่เหมือนกับรหัสไวไฟ เร้าเตอร์ต้นทาง คือ 1111100000

14) ย้อนกลับมาที่ หน้าค้นหาไวไฟในมือถือ เราจะเห็น ไวไฟตัวใหม่โผล่ขึ้นมา โดยปกติ ถ้าไม่ได้แก้ไขชื่อ มันจะต่อท้ายชื่อไวไฟว่า -Ext

15) คราวนี้เมื่อเราเกาะไวไฟ ตัวใหม่ ที่ปล่อยมาจากตัวขยายไวไฟตัวนี้ มันจะถามให้เราต้องใส่ รหัสผ่าน แล้ว…. เราก็ใส่รหัสผ่านเดียวกันกับที่เราใส่ไปในข้อที่ 12 แล้วกดเชื่อมต่อ
อย่าใส่รหัสตามคู่มือเด็ดขาด ไวไฟบ้านใครก็บ้านมัน รหัสไวไฟจะไม่เหมือนกัน ย้ำ อย่าใส่รหัสตามคู่มือเด็ดขาด ถ้าไม่รู้รหัสไวไฟบ้านตัวเอง ก็ต้องโทรถามช่างที่มาติดตั้งเน็ตบ้านเราเพื่อให้รู้รหัสไวไฟบ้านเราก่อน

16) ถ้าไม่ติดปัญหาอะไร มันก็จะเชื่อมต่อได้, แต่หากมีปัญหาเชื่อมต่อไม่ได้ ให้เราไป ถอดปลั๊ก และ เสียบปลั๊ก เร้าเตอร์ต้นทาง สัก 1 รอบ , และ ถอดปลั๊ก และ เสียบปลั๊กตัวขยายไวไฟตัวนี้ สัก 1 รอบ แล้วลองใหม่

17) เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ หมายความว่า เจ้าตัวขยายไวไฟตัวนี้สามารถทำงานได้แล้ว …. เราสามารถที่จะถอดปลั๊ก และ ย้ายไปตำแหน่งที่อยู่กึ่งกลาง ระหว่างตัวปล่อยสัญญาณต้นทาง กับ ตัวมือถือ หรือ อุปกรณ์ปลายทาง …. ยกตัวอย่างเช่น บ้านของเรามี 3 ชั้น เร้าเตอร์ต้นทางอยู่ชั้น 1 และ ตำแหน่งที่เราต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตอยู่ในห้อนอนชั้น 3 …. เรา ไม่ควร เอาตัวขยายไวไฟนี้ไปติดตั้งในห้องนอนชั้น 3 … เราควรจะเสียบปลั๊กตัวขยายไวไฟตัวนี้ บริเวณบันได ชั้นที่ 3 หรือ ชั้นที่ 2 … เพราะ ตัวขยายไวไฟ มันจะต้องสามารถรับไวไฟจากชั้น 1 ให้ได้ดีเสียก่อน เมื่อมันรับไวไฟได้ดีแล้ว มันจะสามารถส่งสัญญาณนั้น ไปยังตัวปลายทางได้ดีด้วย __ (จบการตั้งค่า Wireless Repeater)

คุยกับแอดมินร้าน