WiFi ที่เราใช้ๆกันอยู่ในปัจจุบัน มันส่งไปไกลกันกี่เมตร?

ย่อหน้าแรกขอตอบสั้นๆ ได้ว่า

1) การรับ ส่ง ไวไฟ แบบ Point to Point จากการค้นหาจากสถิติโลก พบว่าสามาถทำระยะห่างได้สูงสุด 382 กิโลเมตร ที่ความเร็ว 3Mbps ซึ่งอันนี้ ชาวบ้านแบบเราๆ คงไม่มีใครไปทำแบบนี้กัน เพราะฉะนั้นข้ามข้อนี้ไปเลย

2) การรับ-ส่งไวไฟ ระหว่าง ไวไฟเร้าเตอร์ หรือ ไวไฟแอสเซสพ้อทย์ ในระดับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป จะได้ระยะสูงสุดที่มีความเสถียรคือไม่เกิน 100 เมตร แต่โดยเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 30-60 เมตร ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์ปลายทาง เช่น หากใช้มือถือแบรนด์ ล่างๆ ราคาไม่เกิน 4-6 พันบาท คุณภาพ และ ประสิทธภาพของ Chip WiFi ก็ย่อมด้อยกว่า มือถือ รุ่นเรือธง ที่ราคา 2-3 หมื่นบาท และยิ่งถ้าลูกค้าเอาไปเชื่อมต่อกับพวกกล้องไวไฟ ที่ติดตามบ้านแล้วละก็ อุปกรณ์ประเภทนี้ ก็จะส่งไวไฟไปยังเร้าเตอร์ได้อย่างมีความเสถียรไม่เกิน 30 เมตร

เพราะฉะนั้น หากจะสรุปสั้นๆ ว่าหากเร้ามี ไวไฟ เร้าเตอร์ ติดตั้งอยู่ในบ้าน มันสามารถปล่อยไวไฟที่มีความเสถียรได้ระยะ ประมาณ 60 เมตร และ หากอุปกรณ์ไวไฟ มีชิปไวไฟที่ประสิทธิภาพต่ำ ก็จะได้ประมาณ 30 เมตร หากท่านไปอ่าน ไปได้ยินจากที่ไหนมาว่า ไวไฟส่งได้ไกล 100-150 เมตร อันนั้น เค้าก็ไม่ได้พูดเท็จนะครับ แต่ อุปกรณ์ไวไฟปลายทาง เค้าอาจจะมี Chip ไวไฟในการรับส่งสัญญาณไวไฟ ที่ดีมาก และ ไม่มีสัญญาณรบกวนมากด้วย และ ไม่นับเรื่องความเสถียร.

คำถามถัดมาคือ แล้วที่ได้ยินมาว่า สามารถส่งไวไฟการรับส่งไวไฟที่ได้ไกลๆนั้น ที่เขียนว่า Point to Point มันคืออะไร?
หลายๆท่านมีข้อสงสัยว่า ไวไฟสามารถส่งได้ไกลเป็น 100เมตร 300 500เมตร หรือ เป็น หลัก 5-10 กิโลเมตรนั้น มันทำได้หรือไม่?
ตอบ สั้นๆ คือ ทำได้ แต่…..
ทางผู้เขียนขอมาทำความเข้าใจ จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านมา แล้วเขียนมาให้ผู้อ่านเข้าใจกันได้ง่ายๆนะครับ

จริงๆแล้วคลื่นไวไฟ ที่เราใช้ๆกันอยู่ในปัจจุบัน มันจะมี 2คลื่นความถี่คือ 2.4GHz และ 5GHz ซึ่งคลื่นทั้งสองมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ตามหลักการคลื่นในธรรมชาติ คือ สัญญาณที่มีความถี่สูง มันก็จะเดินทางได้ไม่ไกล ส่วนสัญญาณที่มีความถี่ต่ำก็จะเดินทางไปได้ไกลกว่า

ซึ่งคลื่นไวไฟของทั้งสองความถี่นั้น เราสามารถที่จะใช้ในการสื่อสารได้ไกลสูงสุดเป็น สิบกิโลเมตรเลยครับ (สถิติโลกคือ 3 ร้อยกว่ากิโลเมตร) แต่มันจะต้องใช้อุปกรณ์ไวไฟที่ เรียกว่า ชนิด Point to Point

หากสงสัยว่าการขยายไวไฟมันมีกี่แบบ คลิ๊กที่ลิ้งค์นี้ได้เลยครับ

ภาพแสดงการเชื่อมต่อ WiFi แบบ Point to Point

ซึ่งการเชื่อมต่อแบบ point to point แบบนี้ ทั้งฝั่งรับ และ ฝั่งส่ง มันจะต้อง อยุ่ในระยะที่ต้อง มองเห็นกัน (Line of Sight) มันจะมีอะไรมาบังไม่ได้ เช่น ต้นไม้ ตึก อะไรแบบนี้มาบังไม่ได้เลยครับ …. เพราะฉะนั้น การติดตั้งแบบนี้ เราจึงต้องมีการขึ้นเสา หรือ ติดตั้งในที่สูงๆ เพื่อหลบเลี่ยงสิ่งกีดขวาง ดังที่กล่าวไปตอนต้นครับ

เรื่องจากการติดตั้งแบบนี้ มันไม่ใช่ติดตั้งกันได้ โดยง่าย ทางร้านจึงแนะนำว่า คนที่จะติดตั้ง การเชื่อมต่อประเภทนี้ จะต้องมีทักษะและ ประสบการณ์ในการติดตั้งไวไฟ มาบ้างครับ หรือ หากจะติดตั้งเอง ก้ศึกษาจากยูทูปเอาก็ได้ครับ ไม่น่าเกินความสามารถของเราๆไปได้

ส่วนอีกประเภทนึง คือไวไฟที่ ส่งมาจากเร้าเตอร์ หรือ Access Point ซึ่งก็คือ ไวไฟที่ใช้สื่อสารกันระหว่าง เร้าเตอร์ (หรือ Access Point) กับอุปกรณ์ปลายทาง เช่น มือถือ Notebook กล้องวงจรปิดชนิดไวไฟ สมาร์ททีวี อุปกรณ์ IOT ต่างๆ ฯลฯ

รูปการเชื่อมต่อไวไฟในบ้าน ออฟฟิต

ซึ่งการสื่อสาร ระหว่างตัวอุปกรณ์นั้น มันจะต้องมีการส่ง และ รับ สลับกันไป (เป็นการสื่อสาร 2 ทาง) เพราะฉะนั้น หากอุปกรณ์ปลายทาง จากในตัวอย่างคือ มือถือ สามารถรับสัญญาณไวไฟที่ส่งมาจาก เร้าเตอร์ได้ แต่ ไม่สามารถ มีกำลังส่งสัญญาณกลับไปถึงยังเร้าเตอร์ต้นทางได้ การสื่อสารก็จะไม่สมบูรณ์

การสื่อสารที่สมบูรณ์จะต้อง รับ และ ส่งสัญญาณได้ทั้ง 2 ฝั่ง
หากฝั่งใดฝั่งนึง กำลังส่งได้ไม่ถึง หรือ รับสัญญาณไม่ได้ การสื่อสารนั้น ก็จะไม่สมบูรณ์

เพราะฉะนั้น เครือข่ายไวไฟที่จะต้อง ให้บริการ ให้กับอุปกรณ์พวกนี้ ในทางปฏิบัติ มันจึงไม่สามารถ ส่งสัญญาณได้ไกลมากนัก ในทางปฏิบัติ มักจะไม่เกิน 60 – 90 เมตร ในที่โล่งครับ

เข้าช่วงขายของ หากลูกค้าต้องการไวไฟเร้าเตอร์ ที่ได้สามารถส่งระยะที่สูงถึง 90-100เมตร ทางร้านของแนะนำรุ่นนี้เลยครับ Tenda รุ่น AC6 ครับ
หรือ หากลูกค้าต้องการ เชื่อมต่อไวไฟ ชนิด Point to Point (PtP) หรือ Point to Multi Point (PtMP) ที่ระยะทางไม่เกิน 500 เมตร ทางร้านขอแนะนำ TENDA รุ่น O1 ครับ … สั่งซื้อได้จาก LAZADA ตามลิ้งค์นี้

คุยกับแอดมินร้าน